บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ปางอุ๋ง โรเเมนติกยามเช้าท่ามกลางสายหมอก

ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย" ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม












ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและบรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น