บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ี จำเป็น ต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลก เปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศเข้ามา เที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะ เชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5 




ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นศูนย์รวมในการค้าขาย พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลจากเรือกสวนไร่นาของ เกษตรกรในย่านนั้น แต่ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นกึ่งตลาดบกตลาดน้ำ คือ มีของขายทั้งบนบกและในเรือ มา เที่ยวที่ตลาดนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะร้อน เพราะมีทางเดินที่มีหลังคาตลอดสองฝั่งของตลาด จึงทำให้เดินเที่ยวชม ตลาดได้ อย่างสบาย ๆ คลองนี้เป็นคลองที่คนใน จ. ราชบุรี จ.สมุทรสาคร และ จ.สมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กัน มีความหมาย ตรงกับชื่อ “ดำเนินสะดวก” คือ การเดินทางสะดวก แม้ทุกวันนี้ จุดประสงค์เริ่มแรกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมี พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยว เดินทางไปอย่างล้นหลาม ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก จึงเปรียบเสมือน เป็นที่นัดของเรือร้อยๆลำเพื่อชุมนุมขายสินค้าการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองตลอดจนร้านขายของ ที่รับจากโรงงานในกรุงเทพหรือจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้วคลองที่เต็มไป ด้วยสินค้าทุกชนิดที่เขาตื่นตาตื่นราคาเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ ี่ีเดียวตลาดน้ำจะเริ่มคึกคัก ตั้งแต่ 6.00 น.ไป จน ถึงประมาณ 11.00 น. นอกจากเขาจะได้ชมตลาดน้ำแล้วชีวิตสองฝั่ง คลองของชาวไทยชนบทยังเป็นภาพที่ น่ามองอย่างมากสลับกับเรือกสวนและไร่นาของชาวบ้านส่วนใหญ่ของพื้นที่ ี่แถบนี้ต่างจากภาพที่เขาคุ้นตาตาม เมืองใหญ่ๆ ไปลิบลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น