บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร – ศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยของไทย




“หศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุง เป็นหอศิลปะร่วมสมัยรูปแบบใหม่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีพื้นที่กว้างขวางใช้สำหรับจัดแสดงงานศิลปะชั่วคราว พื้นที่ใช้สอยต่างๆประกอบไปด้วยโรงละคร ห้องสมุดด้านศิลปะ ห้องประชุม ห้องเอนกประสงค์ ร้านขายสินค้าศิลปะ และร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ตัวอาคารนั้นออกแบบโดยบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ซึ่งต้องการสะท้อนพลังของศิลปะสมัยใหม่ของไทย โดยมีชื่อเดิมก่อนจะเปิดทำการว่า พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครดังในปัจจุบัน 

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครนี้เปิดทำการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2551 โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพฯในชื่อ “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง” เป็นนิทรรศการแรก

หอศิลป์แห่งนี้สร้างขึ้นพร้อมกับจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้เป็นที่พบปะของเหล่าบรรดาศิลปิน เป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชนโดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงศิลปะตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในทุกๆเดือนจะมีการจัดแสดงผลงานต่างๆ เช่น การแสดงละครและดนตรี ซึ่งทุกคนสามารถมาร่วมสนุกและเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่หอศิลป์แห่งนี้ได้หลายชั่วโมงเลยทีเดียว

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครนี้มุ่งที่จะสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย และจัดหาทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

นอกจากนี้ ยังมีความต้องการที่จะให้หอศิลป์แห่งนี้กลายเป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม มีระบบการจัดการหอศิลป์และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติต่อไป

หอศิลป์แห่งนี้อยู่ในการดูแลของมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งขึ้นโดยทางกรุงเทพมหานคร


เวลาเปิด
10-00 - 21.00 น. (ปิดวันจันทร์)
ค่าผ่านประตู
ไม่เสียค่าผ่านประตูสำหรับนิทรรศการปกติ ยกเว้นกรณีมีกิจกรรมพิเศษ ส่วนค่าผ่านประตูสำหรับละครเวทีหรือคอนเสิร์ตจะขึ้นอยู่กับการแสดงในละชุด

วิธีการเดินทาง
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน ตรงข้างห้างสรรพสินค้าชื่อดังอย่างมาบุญครองและสยามดิสคัฟเวอรี่ บริเวณทางเข้าชั้น 3 ของหอศิลป์สามารถเดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสนามกีฬาแห่งชาติได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น