บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เชียงคาน

เชียงคาน เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงสุดชายแดนไทย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่คงยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ แห่งนี้ กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  ภาพบ้านเก่าๆที่เรียงรายติดกันอยู่ริมถนนชายโขง ดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายรุ่นต่างหลั่งไหลเดินทางกันมาที่นี่ บ้านเรือนที่เมืองเชียงคานจะแบ่งออกเป็นซอย เล็กๆ เรียกว่า ถนนศรีเชียงคาน ขนานคู่กันไปไปกับถนนใหญ่ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มตั้งแต่ถนนศรีเชียงคาน ซอยที่ 1- 24  แบ่งเป็นถนนศรีเชียงคานฝั่งบนกับฝั่งล่างซึ่งชื่อซอยเหมือนกัน
ถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง คือ ถนนเส้นที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่าแก่ ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้าเก๋ มากมายซึ่งถนนในเส้นนี้จะเรียกว่า "ถนนชายโขง" ซึ่ง ระยะทางกว่า  2 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว นิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทาง เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง เพราะต้องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเป็น การรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน แต่ถึงแม้บ้านไม้เก่าๆ  ถึงแม้ถูกดัดแปลงให้เป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บ้านพักโฮมสเตย์ไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรความ สงบเรียบง่ายของวิถีชีวิต รอยยิ้มที่ แสนจะจริง ของผู้คนในเมืองนี้ ยังคงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เมืองเชียงคานแตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ



 ดังนั้นเมื่อเดินทางเข้าไปในย่านนี้จึงเป็นเสน่ห์ของเชียงคานที่ให้บรรยากาศแบบสมัยก่อน นักท่องเที่ยวที่ขี่ จักรยานเลียบริมโขง ก็ได้ยินเสียงเพลงลาวดังมาแว่วๆ เป็นความสุข สงบ ชนิดหาที่ไหนได้ยากมาก หลายคนมอง ว่าซักวันหนึ่งเชียงคานจะเหมือนกับปาย แต่ถึงกระนั้น มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นเสน่ห์ของเมืองเชียงคานที่ไม่เหมือน กับที่ไหน นั่นคือ รอยยิ้ม และความจริงใจของเจ้าของบ้าน มาอยู่ที่นี่ไม่มีเหงา เหมือนรู้สึกว่าเราเป็นลูกเป็นหลาน ของผู้คนที่นี่ มาที่นี่ทุกคนจะได้รุ้จักกับคำว่า สุข สงบ และมิตรภาพ อย่างแท้จริง โดยที่ไม่ต้องมีการเสริมแต่ง







สวนผึ้ง

สวนผึ้ง เป็นอำเภอบนพื้นที่สูง ของจังหวัดราชบุรี  โอบล้อมของขุนเขาชิดชายแดนไทย-พม่า มีแม่น้ำชีไหลผ่าน จึงมีสภาพอากาศที่เย็นสบายคล้ายกับภาคเหนือ และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ใช้เวลาในการขับรถ ประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มี ภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำลุ่ม แม่น้ำ แม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูง ทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอด ตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า มีคำขวัญที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสวนผึ้งว่า "สาวกะเหรื่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชี แก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่า หวานซึ้ง ตรึงใจ" ที่มาของคำว่า "สวนผึ้ง" เนื่องจากพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอมีสภาพแวดล้อมประกอบ ด้วย ธรรมชาติ ป่าไม้ เทือกเขา และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นผึ้ง" ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีสีขาวนวลไม่มีเปลือกกะเทาะ หรือลอกให้เห็น และที่สำคัญคือจะมีผึ้งจำนวนนับแสนนับล้านตัวมาอาศัยทำรังบนต้นผึ้งเท่านั้น

นอกจากความสวยงามและอากาศที่บริสุทธิ์เย็นสบาย ได้ไปท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามใน อำเภอสวนผึ้ง อย่างเช่น ธารน้ำร้อนบ่อคลึง ไร้กุหลาบอุษาวดี เขากระโจม แก่งส้มแมว แล้ว  การได้มาพักผ่อน แล ะถ่ายรูปในรีสอร์ทและสถานที่ฮิบๆ อย่างเช่นเดอะ ซีนเนอรี่  ,นากายา หรือ La Toscana  บ้านหอมเทียน ที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คงเป็นการได้มาถ่ายรูปกับน้องแกะ ที่ซีนเนอรี่ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่และสร้างชื่อเสียงให้สวนผึ้ง และยิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยว ต้องหาโอหาสมาเยือนดินแดนแห่งนี้ให้ได้ซักครั้ง

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว


กะเหรี่ยงคอยาว เป็นชนกลุ่มน้อยมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า เมื่อสมัยก่อนเกิดการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างกอง กำลังกะเหรี่ยงกับรัฐบาลทหารพม่า มีผลทำให้ประชากรกะเหรี่ยงคอยาวได้รับผลกระทบจึงพากันอพยพหนีภัย สงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บ แนวชายแดน และบางส่วนได้เข้ามาอาศัยในเขตประเทศไทยในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว สามารถเที่ยวชมได้ในหลายพื้นที ถึงแม้ว่าในปัจจุบันหมู่บ้าน กะเหรียงคอยาวจะแปรสภาพไป ตามสังคมที่เปลี่ยนไป ดูเป็นในลักษณะเชิงธุรกิจมากขึ้นไม่เป็นธรรมชาติของ ชุมชนและวิถีชีวิตดั้งเดิมเหมือนแต่ก่อน แต่ถึงอย่างไร กะเหรี่ยงคอยาว ยังถือว่าเป็นไฮไลท์ของ การท่องเที่ยว แม่ฮ่องสอน ที่ยังได้รับความนิยมแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไม่เปลี่ยนแปลง

ทุ่งทานตะวัน จ.สระบุรี

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี ฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งทานตะวัน จังหวัดสระบุรี  ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองของดอกทานตะวัน เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็น อย่างมากจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และในทุกปีจังหวัดสระบุรี จะจัด เทศกาลทุ่งทาน ตะวันบาน ในทุกปี สลับหมุนเวียนไปในแต่ละอำเภอ / พื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชื่นชม และถ่ายภาพ เป็นที่ระลึก ตลอดจนการ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกดอกทานตะวัน การนำเอาผลผลิตจาก เมล็ดทานตะวันไป ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภครวมทั้งการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เมล็ดทานตะวันคั่วสด ๆ จากไร่ หรือหาซื้อน้ำผึ้งทานตะวันเป็นของฝากจังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับหลายหมื่นไร่ บริเวณเขตติดต่อ ระหว่างจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ตามเส้นทางสายพัฒนานิคม-วังม่วง มีการทำไร่ทานตะวันกันมาก รวมทั้งในอีก หลายอำเภอของสระบุรี เช่น อำเภอพระพุทธบาทแก่งคอย หนองโดน หนองแคและมวกเหล็ก แต่ที่อำเภอ วังม่วงจะมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด
นักท่องเที่ยวสามารถ วางแผนการเดินทางมาท่องเที่ยว ทุ่งทานตะวัน จังหวัดสระบุรี ได้ตลอดเวลาเลือกชมได้ ในหลายๆ พื้นที่ โดยแต่ละแห่ง แต่ละ พื้นที่จะมีความสวยงามและกิจกรรมการจัดงานแตกต่างออกไป นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการขับรถชมทุ่งทานตะวันท่ามกลางบรรยากาศเนินเขา ทุ่งหญ้า ฟาร์มม้า โคนม และ ไร่องุ่น สามารถเลือกชมและท่องเที่ยวทุ่งทานตะวันได้ในพื้นท ี่อำเภอวังม่วง และมวกเหล็ก บรรยากาศการ ท่องเที่ยว ของสองอำเภอนี้เหมาะสำหรับท่องเที่ยวแบบครอบครัว ขับรถชมทิวทัศน์ ชมธรรมชาติ ท่ามกลาง สาย ลมหนาว ที่พัดผ่านที่ราบเชิงเขา ชมทุ่งทานตะวันถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนรีสอร์ตกับครอบครัวอย่างมีความสุข ทานตะวันจะบานสะพรั่งสวยงามในสองอำเภอนี้มากที่สุด ในช่วง ระหว่าง เดือนธันวาคมและมกราคม ในช่วง เวลาอื่นๆ จะมีบานสะพรั่งเป็นพื้นที่ๆ

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี ฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งทานตะวัน จังหวัดสระบุรี  ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองของดอกทานตะวัน เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็น อย่างมากจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และในทุกปีจังหวัดสระบุรีจะ จัด เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน ในทุกปี สลับหมุนเวียนไปในแต่ละอำเภอ / พื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไป ชื่นชมและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ตลอดจนการ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกดอกทานตะวัน การนำเอาผลผลิตจาก เมล็ดทานตะวันไปใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภครวมทั้งการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เมล็ดทานตะวัน คั่วสด ๆ จากไร่ หรือหาซื้อน้ำผึ้งทานตะวันเป็นของฝากจังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับหลายหมื่นไร่ บริเวณ เขตติดต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ตามเส้นทางสายพัฒนานิคม-วังม่วง มีการทำไร่ทานตะวันกันมาก รวมทั้งในอีกหลายอำเภอของสระบุรี เช่น อำเภอพระพุทธบาทแก่งคอย หนองโดน หนองแคและมวกเหล็ก แต่ที่อำเภอวังม่วงจะมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด



สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการชมทุ่งทานตะวันในหุบเขาแบบแรลลี่ครอบครัว จะพบกับความงดงามของ ทุ่งทานตะวันเต็มหุบเขา ที่ตำบลหินซ้อน และตำบล ท่าคล้อ ของอำเภอแก่งคอย ทานตะวันจะบานสะพรั่งใน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมมากที่สุด เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบแรลลี่ชมทุ่งทานตะวัน ในพื้นที่อำเภอ แก่งคอยนี้ทุ่งทานตะวันจะบานสะพรั่งมากที่สุดกว่า 20,000 ไร่ ในหลายตำบล นักท่องเที่ยวที่ต้องการ นั่งรถไฟ ผ่านทุ่งทานตะวันต้องนั่งรถไฟ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย เมื่อเดินทางเข้าพื้นที่ตำบบลท่าคล้อ หินซ้อน ของอำเภอแก่งคอยตลอดแนวสองข้างทางรถไฟ จะพบกับทุงทานตะวัน เหลืองอร่ามท่ามกลางสายลมหนาวพัด เย็นสบาย หากจะนั่งรถไฟผ่าน ทุ่งทานตะวัน ขอแนะนำให้นั่งรถช่วงระหว่างกลางเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือน จะไม่ผิดหวัง

สถานีรถไฟหัวหิน

สถานีรถไฟหัวหิน ตั้งอยู่ถนนพระปกเกล้า ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟ
ชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้ ทางด้านอาคารสถาปัตยกรรมได้รับยกย่องเป็นอาคารอนุรักษ์ อาคารสถานีรถไฟ หัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรียเช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน มีรายละ เอียด สวยงามประดับเสา ค้ำยัน และอื่นๆ ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีรถไฟที่สวยที่สุด ในประเทศไทย เป็น สถาีนีรถไฟเพียงแห่งเดียวที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย และหากใครมาหัวหินก็ ต้องมาถ่ายรูปคู่กับป้ายสถานีรถไฟนับว่าเป็นธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



 จุดเด่นของสถานีรถไฟหัวหินก็คือ ยังคงรูปแบบของสถานีแบบสมัยก่อนที่สร้างตัวอาคารด้วยไม้ ที่ทางเจ้าหน้าที่ ของสถานีทำนุบำรุงดูแลรักษาอย่างดี ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยปัจจุบันนี้ เพราะสถานีอื่นๆ ได้ทำการรื้อถอน และ สร้างสถานีเป็นแบบสมัยใหม่เกือบหมดแล้ว

 อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศต่างพากันมาแวะเวียนเยี่ยม ชมสถานีรถไฟ แห่งนี้ก็คือ"พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ "เป็นพลับพลาจตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เดิมมีชื่อว่า" พลับพลาสนามจันทร์ " ตั้งอยู่บริเวณสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พลับพลาแห่งนี้มีไว้ในการที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่า และลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อม ยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี หลังจากสิ้นรัชสมัยพระองค์การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการรื้อถอนมาเก็บไว้เพื่อ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์




วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลายเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ คนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภาย นอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์ แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและ พระอัฐิธาตุ จากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่ หนานทิพย์ ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่


ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะ อ้ายกอนเกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ ได้ฉันน้ำผึ้ง แล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะ นคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน)รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมา ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงาม อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครอง นครและเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครอง อาณาจักร ล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร อยู่ภายใต้การปกครองของ กษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุ ลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบ รวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้ว ทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนา ขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ี จำเป็น ต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลก เปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศเข้ามา เที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะ เชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5 




ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นศูนย์รวมในการค้าขาย พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลจากเรือกสวนไร่นาของ เกษตรกรในย่านนั้น แต่ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นกึ่งตลาดบกตลาดน้ำ คือ มีของขายทั้งบนบกและในเรือ มา เที่ยวที่ตลาดนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะร้อน เพราะมีทางเดินที่มีหลังคาตลอดสองฝั่งของตลาด จึงทำให้เดินเที่ยวชม ตลาดได้ อย่างสบาย ๆ คลองนี้เป็นคลองที่คนใน จ. ราชบุรี จ.สมุทรสาคร และ จ.สมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กัน มีความหมาย ตรงกับชื่อ “ดำเนินสะดวก” คือ การเดินทางสะดวก แม้ทุกวันนี้ จุดประสงค์เริ่มแรกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมี พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยว เดินทางไปอย่างล้นหลาม ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก จึงเปรียบเสมือน เป็นที่นัดของเรือร้อยๆลำเพื่อชุมนุมขายสินค้าการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองตลอดจนร้านขายของ ที่รับจากโรงงานในกรุงเทพหรือจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้วคลองที่เต็มไป ด้วยสินค้าทุกชนิดที่เขาตื่นตาตื่นราคาเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ ี่ีเดียวตลาดน้ำจะเริ่มคึกคัก ตั้งแต่ 6.00 น.ไป จน ถึงประมาณ 11.00 น. นอกจากเขาจะได้ชมตลาดน้ำแล้วชีวิตสองฝั่ง คลองของชาวไทยชนบทยังเป็นภาพที่ น่ามองอย่างมากสลับกับเรือกสวนและไร่นาของชาวบ้านส่วนใหญ่ของพื้นที่ ี่แถบนี้ต่างจากภาพที่เขาคุ้นตาตาม เมืองใหญ่ๆ ไปลิบลับ

ยลเสน่ห์ระราชวังไทย พระราชวังสนามจันทร์

ตั้งอยู่ในตัวเมือง ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 โดย หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง พระที่นั่ง เมื่อแรกสร้างมี ีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระราชทานนามตาม ประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454  และต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตร ขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 


การสร้างพระราชวังสนามจันทร์มีมูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ซึ่ง ทำให้พระองค์ ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็นอย่างยิ่งทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อนเนื่องจากมี ภูมิประเทศที่งดงาม ร่มเย็น นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง นั่นก็คือ ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองที่มีชัยภูมิ เหมาะสำหรับต้านทานข้าศึกซึ่งจะยกเข้ามาทางน้ำได้อย่างดี ด้วยทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสนำ เรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้ และไม่ต้องการที่จะให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพดังกล่าว จึงตั้งพระทัยที่จะ สร้างพระราชวัง สนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สองหากประเทศชาติประสบปัญหา วิกฤติพระราชวัง สนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบ และมีคูน้ำล้อม อยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆนั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวังเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน 

ตลาดน้ำ 4 ภาค พัทยา



ตลาดน้ำ 4 ภาค เสน่ห์พัทยาแห่งใหม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมของ กิจกรรม ความหลากหลายเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตลาดน้ำ 4 ภาค รวบรวม ของดี 4 ภาค มาไว้ที่นี่ ผสมผสาน กันอย่างลงตัว เสน่ห์ แห่งใหม่ในเมืองพัทยา แหล่ง รวม สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน และแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม มารวมไว้จุดเดียวกัน ถือเป็น แหล่ง ช็อปปิ้งใหม่ ที่มีจุดขายในตัวเองและไม่เหมือนใคร ภายใน ตลาดน้ำ 4 ภาค เป็น ส่วนจุดเข้าชมย่อย อาทิ เช่น ทุ่งทานตะวัน พิพิธภัณฑ์ไม้แกะสลัก อีกทั้งยังเป็น แหล่ง ช็อปปิ้ง สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านไทย ทั้งหมด 114 ร้านค้า รวมไปถึงการแสดงกิจกรรมวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ไทย หรือจะเป็นการล่องเรือพายชมทัศนียภาพตลาดน้ำ ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์การกสิกรรมไทย ที่แปลงเกษตร สาธิต และสมุนไพรไทย เป็นการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ได้ รู้จักความเป็นมา ในอดีตของการค้าขายทางสายน้ำ รวมไปถึงการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของทั้ง 4 ภาค
(live & learn) ไม่ว่าจะเป็น การทำนาปลูกข้าว ,การทอผ้าไหม,การทำขนมไทยโบราณ หรือการ ศึกษาถึงภูมิทัศน์ ของผู้ที่อยู่อาศัย และทำการ ค้าขายบนสายน้ำ

เกาะหลีเป๊ะ


เกาะหลีเป๊ะ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดังราวีราว 2 กิโลเมตร เกาะหลีเป๊ะ หมายถึง เกาะที่ราบเรียบ คล้าย กระดาษ ซี่งมีที่มาจากภาษาท้องถิ่นชาวน้ำหรือชาวเล(ชนเผ่าอุรักลาโว้ย)บนเกาะซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง รอบเกาะเต็ม ไปด้วยป่าปะการังอันสมบูรณ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายขาวละเอียด อ่าวที่สวยงามที่สุด คือ อ่าวพัทยา บน เกาะ มีที่พักเพื่อให้บริการนักท่องเที่นสทั้งด้านหน้าและด้านหลังเกาะในเดือน 6 และเดือน 11 ขึ้น 13-15 ค่ำ ตลอด 3 วัน 3 คืนชาวบ้านที่มีเชื่อสายชาวเลจะมารวมกันที่เกาะแห่งนี้เพื่อจัดงานประเพณีลอยเรือ ตาม ความเชื่อที่ จะขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสี่ยงทายอนาคตของการประกอบอาชีพ เกาะหลีเป๊ะและหมู่เกาะใกล้เคียง มีความงดงาม ทางทะเลมาก จนได้รับการขนานนามว่ามัลดีฟส์เมืองไทย






ปางอุ๋ง โรเเมนติกยามเช้าท่ามกลางสายหมอก

ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย" ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม












ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและบรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

หมู่เกาะพี พี



หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยประกอบด้วย 2 เกาะใหญ่ๆ คือ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล และเกาะเล็กๆข้างเคียง คือ เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ อาจกล่าวได้ว่า เกาะพีพีดอน และเกาะพีพีเล เป็นสุดยอดแห่งสถานที่ท่องเที่ยวหลัก เป็นเวิ้ง หรืออ่าวใหญ่ที่ภายในมีหาดทรายขาวสะอาดสวยงาม น่าเล่นน้ำแลพดูปะการัง และเกาะพีพีดอน เองครั้งหนึ่ง เคย ติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับเกาะที่สวยงามที่สุดในโลกเลยทีเดียว เกาะพีพีดอนเป็นศูนย์กลางของหมู่เกาะพีพี มีทั้ง ที่พัก ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมทั้งยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามอีกด้วยเกาะพีพี ประกอบ ด้วยอ่าว 2 อ่าวที่เป็นเวิ้งอ่าวคู่ คือ อ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัมคั่นด้วยที่ราบเล็กๆร่มรื่นด้วยทิวมะพร้า












ดอยแม่สลอง





ดอยแม่สลอง ตั้งอยู่ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของชุมชนชาวจีนฮ่อ แห่งกองพล 93 ที่ตั้งหลักแหล่ง บนดอย บนดอยแห่งนี้มานานกว่า 40 ปี ปัจจุบันชุมชนชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีชื่อว่า หมู่บ้านสันติคีรี ตั้งอยู่ที่ ความสูงจาก ระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 1,200 ม. อากาศเย็นสบายตลอดปี รายได้หลัก มาจากการปลูกชาอู่หลง บ้านสันติคีรี เป็นชุมชน ขนาดใหญ่ มีประชากร ประมาณ 800 หลังคาเรือน มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคาร ทหารไทย ที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบ

ดอยแม่สลอง เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง ของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบ อยู่ทางตอนใต้ของจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอม มิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋ง จึงถอยร่นไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลัง พลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการ ปะทะ กันหลายครั้งจนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย ฝ่ายพม่าได้ร้องเรียนไปยังสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2496 และมีมติให้อพยพกองกำลังพลัดถิ่นไปยังประเทศไต้หวัน แต่ทหารสังกัดนายพลหลี่เหวินฝาน และนายพลต้วนซีเหวินราว 3 หมื่นคน ทำเรื่องขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคต เพราะไต้หวัน เป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยอนุญาติโดยจัดสรรให้ทหารของนายพลหลี่เหวินฝาน ไปอยู่ที่ถ้ำง้อบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ส่วนทหารสังกัดนายพลต้วนซีเหวิน15,000 คน อยู่บนดอยแม่สลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เพื่อใช้เป็น กันชนกับชนกลุ่มน้อย ทำให้ดอยแม่สลองในยุคแรกเป็นดินแดนลี้ลับต้องห้าม มีปัญหายาเสพติด และกองกำลัง ติดอาวุธมาตลอด ทางการไทยได้พยายามแก้ปัญหาโอนโอนกองกำลังเหล่านี้มาอยู่ในความดูแลของ กองบัญชา การทหารสูงสุด กระทั่งปี พ.ศ.2515 ครม.มีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดยพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกสนสามใบ เพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนดอยแม่สลองได้ชื่อใหม่ เป็นบ้านสันติคีรี มีการออกบัตรประชาชน ให้เมื่อปี พ.ศ.2521 ดอยแม่สลองคืนสู่ความสงบ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญนับ แต่นั้นมา

วัดพระสิงห์



วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะ เชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง วัดพระสิงห์   มีสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงามเป็นที่รู้จักและ คุ้นชื่อกันอย่างดี  วัดพระสิงห์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความศรัทธาและจะเดินทาง มาเคารพ สักการะกันอย่างเนื่องแน่นเป็นประจำ ทุกปีเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์หรืองานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ทางราชการ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ศรัทธา ประชาชนได้พากันมา สรงน้ำเนื่อง ในเทศกาลปีใหม่  ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

@ ปาย


ปาย...อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย 

ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลเอื่อยผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อม เป็นสเน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน

ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขา ท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น

รุ่งเช้า ไอหมอกจากแม่น้ำปาย ค่อย ๆ สะสมปกคลุมไปทั้งตัวเมือง ให้ทุกสิ่งของเมืองปายดูเลือนราง แต่กลับเต็มไปด้วยสเน่ห์ 






ยามสายหมอกจางหาย เหลือเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ กรุ่นกลิ่นไอศิลปะ และอารมณ์สบาย ๆ น่านั่งจิบกาแฟ ปล่อยอารมณ์ให้ไหลไปกับเวลาที่ค่อย ๆ ย่างก้าวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ

ใกล้ ๆ เที่ยง วิถีปายก็เปลี่ยนไป มอเตอร์ไซค์คันน้อย จะทยอยออกจากเมือง พานักท่องเที่ยวรับลม และสัมผัสกับธรรมชาติรอบ ๆ เมืองน้อยกลางหุบเขาแห่งนี้ หรือ พานักท่องเที่ยวมุ่งหน้าเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อันหลากหลาย ทั้ง วัดน้ำฮู Coffee in Love หรือ ศูนย์วัฒนธรรมยูนนาน

จนกระทั่งราตรีมาเยี่ยมเยือน ถนนก็เริ่มครึกครื้น ร้านขายโปสการ์ด hand-made เปิดไฟสีนวลให้ร้านยิ่งน่ารักชวนมอง ชาวดอยต่าง ๆ ก็ปูผ้ากันริมถนนขายสินค้าพื้นเมือง ทั้งย่ามทอมือ ผ้าปักหลากสี 

เกาะนางยวน



ถ้าคุณได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวที่เกาะเต่าหรือเกาะสมุยในวันหยุดแล้วละก็ ขอแนะนำว่าอย่าพลาดที่จะไปเที่ยวที่เกาะนางยวนเด็ดขาด เพราะเกาะนางยวนที่ประเทศไทยนี่อาจถือเป็นเกาะในประเทศเขตร้อนที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใช้เวลาเดือนทางจากชายฝั่งทางเหนือของเกาะเสม็ดด้วยสปีดโบ้ทเพียงแค่ 1.5 ชั่วโมงคุณก็จะได้พบกับดินแดนแห่งทรวงสวรรค์ เกาะนางยวนนี้ตั้งอยู่ถัดจากเกาะเต่า มีชายหาดที่มีชื่อเสียงเพราะมีเม็ดทรายขาวบริสุทธิ์ราวกับน้ำตาลรวมถึงมีน้ำทะเลเขียวใสราวกับมรกต


          แท้จริงแล้วเกาะนางยวนประกอบไปด้วยเกาะเล็กๆที่สวยงาม 3 เกาะเชื่อมต่อกันด้วยหาดทรายเล็กๆ (ยาวประมาณ 50 ม.) ซึ่งจะโผล่ให้เห็นเมื่อน้ำทะเลลด เกาะทั้งสามนี้เรียกว่าเกาะเหนือ เกาะกลาง และเกาะใต้ตามลำดับ หากมองไกลๆอาจจะเหมือนคุณกำลังเดินอยู่บนผิวน้ำ!!!

การเดินทางไปจุดชมวิวนั้นใช้เวลาราว 25 นาที แค่เพียงคุณเดินตามป้ายที่เขียนว่าไปจุดชมวิว คุณก็จะได้ไปเจอวิวที่สวยงามที่คุณสามารถเก็บภาพแห่งความประทับใจได้มากมาย และสำหรับบางคนอย่างเช่นฉัน การปีนเขาขึ้นไปจุดชมวิวอาจเป็นเรื่องน่าท้าทายอีกด้วย
          เกาะนี้เปนเกาะที่แสนโรแมนติกที่คุณสามารถปลีกเวลาไปซึมซับบรรยากาศกับคนรักของคุณ
ช่วงเวลาที่น่าไปเที่ยวเกาะนางยวน:
ช่วงตอนบ่าย เพราะช่วงเช้าเกาะนางยวนจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับ 
นอกจากนี้ ยังไม่ควรจะไปเที่ยวเกาะนางยวนในหน้าฝน ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน เพราะจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามา
วิธีเดินทางไปเกาะนางยวน:
จากเกาะสมุย จะมีบริษัททัวร์มากมายหลายราคาที่จัดนำเที่ยวแบบวันเดียวไปเกาะเต่าและเกาะนางยวน 
กิจกรรมที่เกาะนางยวน:
ดำนำ อาบแดด รวมถึงสร้างปราสาททราย

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

น้ำพุร้อนโป่งกวาว แช่น้ำร้อนที่เชียงใหม่








น้ำพุร้อนโป่งกวาว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านโป่งกวาว ต. สะเมิงเหนือ อ. สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจาก อ. สะมิงออกไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ในบรรยากาศแบบชนบทห่างไกลผู้คน สองข้างทางที่เดินทางผ่านนั้นส่วนมากนอกจากบ้านเรือนของชาวบ้านแล้ว ก็จะมีไร่นา สามารถมองเห็นได้เป็นช่วงๆ สลับเขาป่าเขากิจกรรมของการมาท่องเที่ยวสถานที่แห่งนี้ จุดมุ่งหมายหลักที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาก็คือการได้ลงไปแช่น้ำแร่อุ่นๆ ให้ได้ผ่อนคลายร่างกายจากการใช้ชีวิตประจำวัน





น้ำพุร้อนโป่งกวาวที่นี่ยังมีสถานที่พักเตรียมพร้อมไว้ให้นักท่องเที่ยวได้พัก ในราคาไม่แพง อย่างเช่น บ้านพักราคาเพียง 1500 บาทต่อคืน ซึ่งจะทำให้คุณได้สัมผัสบรรยากาศกลางหุบเขาและชายทุ่งนา และในช่วงฤดูหนาวคุณจะได้สัมผัสและเห็นหมอกยามเช้า ในหน้าบ้านพักของคุณเอง นอกจากบ้านพักแล้วยังมีบริการเต้นท์ให้ได้พักอีกด้วย ในราคาประมาณ 260 บาท